โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ผิวหนัง
รศ.พญ. จันทนา ผลประเสริฐ
สาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผิวหนังเป็นตำแหน่งที่พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่มีอาการนอกต่อมน้ำเหลืองมากเป็นอันดับ 2 ของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั้งหมด มะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ผิวหนังมี 2 รูปแบบคือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่เกิดขึ้นที่ตำแหน่งต่างๆ โดยเฉพาะที่ต่อมน้ำเหลืองและลามมายังผิวหนัง ลักษณะนี้เรียกว่ามะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่ 4 คือระยะลุกลามไปยังผิวหนัง ซึ่งต้องให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเป็นหลักเหมือนในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั่วไป อีกรูปแบบหนึ่งคือ ลักษณะที่มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดขึ้นที่ผิวหนังเท่านั้น การพยากรณ์ของโรคและการรักษาจะแตกต่างจากกลุ่มแรก ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่พูดถึงในบทความนี้เป็นหลัก
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ผิวหนังพบได้ทั้งชนิดบีและทีเซลล์ แต่จะพบชนิดทีเซลล์บ่อยกว่า ในที่นี้จะขอพูดถึงมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ผิวหนังที่พบบ่อยคือชนิดทีเซลล์เป็นหลัก โดยจะขอกล่าวถึงชนิดที่พบบ่อย 2 ชนิดได้แก่ mycosis fungoides (MF) และ subcutaneous panniculitis-like T-cell lymphoma (SPTCL)
รูปที่ 1 ซ้าย: รอยโรคของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ผิวหนังชนิด SPTCL ที่มีอาการตุ่มนูนในชั้นไขมันใต้ผิวหนัง
ขวา: ลักษณะของชิ้นเนื้อในโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ผิวหนังชนิด SPTCL จะพบเซลล์มะเร็งเรียงตัวล้อมรอบช่องไขมัน (ดังลูกศรชี้)
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ผิวหนังชนิดบีเซลล์ พบได้ประมาณร้อยละ 25-35 ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ผิวหนัง ได้แก่
กล่าวโดยสรุป โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ผิวหนังเป็นกลุ่มโรคที่มีความจำเพาะ การวินิจฉัยแยกกลุ่มของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ผิวหนังทำได้โดยตัดชิ้นเนื้อนำไปตรวจและย้อมสี ผู้ป่วยควรสังเกตอาการของตนเองโดยถ้าพบผื่น หรือตุ่มผิดปกติ ไม่หายไปได้เอง หรือเป็นมากขึ้น ควรมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจละเอียดให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและไม่ล่าช้าจนเกินไป
ที่มา: 1.Kempf W, Zimmermann AK, Mitteldorf C. Cutaneous lymphomas-An update 2019. Hematological Oncology 2019; 37(S1): 43-47
2.Polprasert C, Takeuchi Y, Kakiuchi N, Yoshida K, Assanasen, T, Sitthi W, Bunworasate U, Pirunsarn A, Wudhikarn K, Lawasut P,Uaprasert N, Kongkiatkamon S, Moonla C, Sanada M, Akita N, Takeda J, Fujii Y, Suzuki H, Nannya Y, Shiraishi Y, Chiba K, Tanaka H, Miyano S, Rojnuckarin P, Ogawa S, Makishima H. Frequent germline mutations of HAVCR2 in sporadic subcutaneous panniculitis-like T-cell lymphoma. Blood advances 2019, 3:588-595.
3.Bunworasate U, Khuhapinant A, Siritanaratkul N, Lekhakula A, Julamanee J, Chancharunee S, Niparuck P, Chansung, Sirijerachai C, Nawarawong W, Norasetthada L, Numbenjapon T, Prayongratana K, Kanitsap N, Makruasi, Wannakrairot P, Intragumtornchai T. Subcutaneous panniculitis-like T-cell lymphoma in Thailand: clinical outcomes, treatments, and prognostic factors. 13th International Conference on Malignant Lymphoma 2015: Poster 236.