ทำอย่างไรไม่ให้ลูกขาดธาตุเหล็ก
พญ.กาญจน์หทัย เชียงทอง
หน่วยโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์
ภาวะการขาดธาตุเหล็ก คือภาวะอะไร
ภาวะที่ธาตุเหล็กในร่างกายไม่เพียงพอในการทำงานของกระบวนการต่างๆของร่างกาย ได้แก่ การพัฒนาการของสมอง การสร้างเม็ดเลือดแดง การทำงานของเยื่อบุทางเดินอาหาร การทำงานของกล้ามเนื้อ
การขาดธาตุเหล็กจะส่งผลอย่างไรแก่ลูกได้บ้าง
ส่วนใหญ่ของผู้ที่ขาดธาตุหล็กมักไม่แสดงอาการ ในกลุ่มที่ขาดในระดับรุนแรงพบว่ามีอาการซีด เม็ดเลือดแดงขนาดเล็ก อ่อนเพลีย หงุดหงิด หัวใจเต้นเร็ว ความอยากอาหารลดลง บางคนมีพฤติกรรมการรับประทานที่ผิดปกติ เช่นรับประทานน้ำแข็งมาก รับประทานกระดาษ แป้ง ข้าวดิบ มีลิ้นเลี่ยน ลักษณะเล็บผิดปกติ นอกจากนี้ ภาวะขาดธาตุเหล็กยังส่งผลต่อการพัฒนาการของสมองและการเรียนรู้ของเด็กอีกด้วย
ความเสี่ยงในการเกิดภาวะการขาดธาตุเหล็กในเด็กและวัยรุ่นมีอะไรบ้าง
ภาวะการขาดธาตุเหล็กนี้สามารถป้องกันได้อย่างไร
ภาวะการขาดธาตุเหล็กนั้นสามารถป้องกันได้โดย
คำแนะนำในเรื่องของโภชนาการของธาตุเหล็ก อย่างไรบ้าง
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทางโภชนาการ ได้แก่ การดื่มนมวัวที่มากเกิน 20-24 ออนซ์ต่อวัน
อาหารชนิดไหนบ้างที่มีธาตุเหล็กสูง
อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์เนื้อแดง ตับ เครื่องในสัตว์ เลือด ไข่แดง ผักใบเขียว เช่น ผักขม บรอกโคลี่ ตำลึง ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ
มีการตรวจคัดกรองภาวะการขาดธาตุเหล็กในเด็ก หรือไม่ อย่างไร
แนะนำให้ตรวจคัดกรองภาวะการขาดธาตุเหล็กในเด็กช่างอายุ 6 เดือน – 2 ปี ที่คลินิกเด็กดี โดยการซักประวัติและตรวจร่างกาย ร่วมกับการตรวจเลือดดูค่าของเม็ดเลือดแดงจาก CBC ที่อายุ 9 – 12 เดือน หากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการขาดธาตุเหล็ก อาจมีการตรวจซ้ำอีกครั้งที่อายุ 15 – 18 เดือน
ลักษณะของเม็ดเลือดแดงในผู้ป่วยที่ขาดธาตุเหล็ก
รูปแสดงลักษณะของลิ้นเลี่ยนในผู้ป่วยที่ขาดธาตุเหล็ก