วัตถุประสงค์
- ส่งเสริม และสนับสนุน การศึกษา การฝึกอบรม และการวิจัยในการแพทย์ เน้นหนักใน สาขาวิชาโลหิตวิทยา และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อความก้าวหน้าในวิชาการ และเพื่อนำ ความรู้และความก้าวหน้านั้น ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน
- เผยแพร่ แลกเปลี่ยน วิชาการ ประสบการณ์ และผลการศึกษาวิจัยในหมู่สมาชิก ส่งเสริมความ สามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- เผยแพร่ความรู้อันเกี่ยวกับการแพทย์ การป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชน
- ประสานงาน และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นกับสมาคมและสถาบันการทางการแพทย์ อื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ส่งเสริม ปรับปรุง และประสานงาน ในการบริการทางการแพทย์แก่ประชาชน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสาขาวิชาโลหิตวิทยา
- เพื่อพบปะ ปรึกษาหารือในระหว่างสมาชิก เพื่อหาหนทางให้วัตถุประสงค์ข้างต้นนี้สัมฤทธิ์ผล
จากกรมการบริหารชุดที่ 1 จนถึงวันนี้สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทยได้ผ่านการมีกรรมการบริหารแล้ว 15 ชุด และชุดที่ 16 เป็นชุดปัจจุบันซึ่งมีวาระการบริหารงานระหว่างปี 2553-2555 สมาคมฯ ได้ผ่านการทำกิจกรรมทางวิชาการ การจัดฝึกอบรมแพทย์สาขาโลหิตวิทยา การปรับปรุงระเบียบแบบแผนและข้อบังคับเพื่อให้สอดคล้องทันสมัยต่อการดำเนินงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
การจัดประชุมวิชาการ
สมาคมฯ ได้จัดให้มีการประชุมวิชาการภายในประเทศ ปีละ 4 ครั้ง นับตั้งแต่เริ่มตั้งเป็นสมาคม และได้เพิ่มเป็นปีละ 5 ครั้ง นับตั้งแต่ปี 25... ซึ่งประกอบด้วย
- การประชุม Refresher Course for Hematology ในเดือนมกราคม
- การประชุมวิชาการประจำปี ในเดือนมีนาคม
- การประชุม Educational Course for Hematology Trainees ในราวเดือนกรกฎาคม
- การประชุมโลหิตวิทยาสัญจร ในเดือนสิงหาคม
- การประชุมวิชาการกลางปี ในเดือนตุลาคม
การจัดทำจุลสาร – วารสาร
ในปี 2522 สมาคมฯ ได้เริ่มต้นออกจุลสารสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย เพื่อสื่อสารข่าวกิจการของสมาคมฯ และเนื้อหาทางวิชาการ โดยพิมพ์เผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ จนกระทั่งปี 2534 ได้เปลี่ยนเป็น วารสารสมาคมโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต เพื่อเผยแพร่งานวิจัย ตีพิมพ์ปีละ 4 ฉบับ โดยสมาคมโลหิตวิทยาฯ และศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ร่วมกันจัดทำและเผยแพร่ ตีพิมพ์ครั้งแรกคือฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มีนาคม 2534
นอกจากนั้นในปี 25... ได้เริ่มจัดทำจุลสารสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย เพิ่มอีกหนึ่งฉบับเป็นจุลสารประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมต่างๆ ของสมาคมเผยแพร่เฉพาะในหมู่สมาชิก ออกปีละ 3 ฉบับ
การจัดหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ผู้มีความรู้ความชำนาญทางโลหิตวิทยา
ในระหว่างปี 2525 – 2534 สมาคมได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาโลหิตวิทยาให้แก่แพทย์ประจำบ้านและแพทย์ต่อยอดทั้งอายุรแพทย์และกุมารแพทย์ ตามมติอนุมัติของแพทยสภาในปี 2523 จนกระทั่งในปี 2533 แพทย์สภาได้มีมติให้จัดอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม แยกเป็นเป็น 2 สาขา คือ สาขาอายุรศาสตร์โรคเลือด และสาขากุมารเวชศาสตร์โรคเลือด
และในปี 25..... แพทยสภา ได้มีมติให้เปลี่ยนสาขากุมารเวชศาสตร์โรคเลือด เป็น อนุสาขาโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก แทน ซึ่งนับจากจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบันนี้ สมาคมได้จัดอบรมและสอบเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านโลหิตวิทยาทั้งหมดรวมแล้ว 282 คน
การร่วมมือและสนับสนุนให้เกิดองค์กรใหม่เพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเลือดอย่างครอบคลุม
- ปี 2532 สนับสนุนและมีสวนร่วมในการจัดตั้ง มูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย
- ปี 2545 สนับสนุนให้มีการจัดตั้งมูลนิธิโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลียแห่งประเทศไทย
การร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ
สมาคมฯ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของหน่วยความร่วมมือระหว่างประเทศดังนี้
- เป็นสมาชิกของ International Society of Hematology
- เป็นสมาชิกของ Asia Pacific Blood and Marrow Transplantation Group
การจัดการประชุมวิชาการระหว่างประเทศ
- "Regional Conference on Congenital and Acquired Bleeding Disordered in Tropical Areas 1979" ระหว่างวันที่ 4-12 มกราคม 2522 ที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นการจัดร่วมกับ World Federation of Hemophilia, SEMEO-TROPMED, รัฐบาลไทย, รัฐบาลฝรั่งเศส และมหาวิทยาลัยมหิดล
- "First International Conference on Thalassemia" ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน - 4 กรกฎาคม 2528 ที่โรงแรมเซ็นทรัล พลาซ่า กรุงเทพฯ เป็นการจัดร่วมกับศูนย์ธาลัสซีเมีย มหาวิทยาลัยมหิดล
- "Asia Pacific Congress on Bleeding Disorders and Transfusion Medicine 1992" ระหว่างวันที่ 10-15 พฤษภาคม 2535 ที่บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลพลาซ่า กรุงเทพฯ เป็นการจัด
ร่วมกับ World Federation of Hemophilia, ASEAN-TROPMED, ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย, มหาวิทยาลัยมหิดล และ International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies
- "The 7th International Conference on Thalassemia and the haemoglobinopathies" ระหว่างวันที่ 31
พฤษภาคม – 4 มิถุนายน 2542 ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ เป็นการจัดร่วมกับ มูลนิธิโรค
โลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย, ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย, ศูนย์วิจัยโรคธาลัสซีเมีย
มหาวิทยาลัยมหิดล, Thalassemia International Federation และองค์การอนามัยโลก
- "IX Congress of the International Society of Hematology of Hematology: Asia-Pacific Division"
ระหว่างวันที่ 24-28 ตุลาคม 2542 ณ บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัลพลาซ่า
กรุงเทพฯ เป็นการจัดร่วมกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และ SEAMEO TROPMED
- "The 7th Congress of Asia-Pacific Bone Marrow Transplantation Group (APBMTG)" ระหว่างวันที่
5-8 พฤศจิกายน 2543 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ เป็นการจัดร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล และ
สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย
- "World Congress of Hemophilia 2004" 17-21 ตุลาคม 2547 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค
กรุงเทพฯ เป็นการจัดร่วมกับ มูลนิธิโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลียแห่งประเทศไทย
- "The 3rd Asian-Pacific Congress on Thrombosis and Hemostasis" ระหว่างวันที่ 14-16 ตุลาคม
2547 ณ โรงแรมพลาซ่า แอธทินี กรุงเทพฯ
- "The 32nd Congress of International Society of Hematology" ระหว่างวันที่ 19-23 ตุลาคม 2551 ณ
โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิล์ด กรุงเทพฯ